01 ธ.ค. 60 : 16:00 น.
วันนี้วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2560 ใกล้เข้ามาแล้วนะครับสำหรับปีใหม่ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเราได้แนะนำทริปท่องเที่ยวรวมถึงงบประมาณค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มาสัปดาห์นี้แอดมินไปเจอบทความดีๆ เข้าขั้นว่าได้ความรับความรู้กันไปเต็มๆ ถึงเนื้อหาจะไม่ได้มากนัก แต่แอดมินบอกได้เลยว่าเจ๋งอ่าาาาาาาา คราวนี้เป็นบทความเรื่องเกี่ยวกับอีคอมเมอส์ของไทย จากเว็บ https://www.contentshifu.com เขียนโดยพี่แบงค์ ซึ่งพี่แบงค์ได้ถูกเชิญไปงาน Priceza E-Commerce Award 2017 แล้วได้นำความรู้จากงานมาแบ่งปันให้เพื่อนได้ฟังกัน เรียกได้ว่าสรุปเอาประเด็นสำคัญๆมาถ่ายทอดได้อย่างดีเลยทีเดียวครับ ทิศทางอีคอมเมอส์ของไทยจะเป็นอย่างไรนั้น เชิญติดตามได้เลยครับผม
วันก่อนผมได้รับคำเชิญชวนให้ไปงาน Priceza E-Commerce Award 2017 จาก พี่ไว CEO ของ Priceza หนึ่งใน Guest Writer ของ Content Shifu โดยที่ในงานมีการอัปเดตเทรนด์ E-Commerce ของประเทศไทยที่น่าสนใจหลายอย่างซึ่งรวมไปถึง เทรนด์ E-Logistics และเทรนด์ E-Payment ด้วย
ในช่วงเริ่มงานพี่ไวได้แชร์ Insight ที่น่าสนใจจาก Priceza ไว้หลายอย่าง ซึ่งถึงแม้ว่า Insight เหล่านั้นจะเป็นเพียงข้อมูลจาก Priceza ไม่ใช่ข้อมูลของตลาดทั้งหมด แต่ผมคิดว่าข้อมูลจาก Priceza นั้นสามารถใช้เป็นตัวแทนข้อมูลภาพรวมของประเทศได้ในระดับนึงเนื่องจากว่าคนเข้าไปยังเว็บไซต์ Priceza ในปีปีนึงนั้นเป็นหลักร้อยล้านครั้ง
สิ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจคือ
ช่องทางหลักๆ ที่คนไทยซื้อสินค้าออนไลน์มีอยู่ 3 ช่องทางได้แก่ Social Media, E-Market Place และ Online Retailer (Brand.com)
ซึ่งการที่ทั้ง 3 ช่องทางนั้นถ่วงดุลอำนาจกันถือเป็นสิ่งที่ดีกับผู้บริโภคไทย
จากกราฟจะเห็นได้ว่าเปอร์เซนต์จาก Mobile เพิ่มขึ้นทุกปี ในขณะที่ส่วนแบ่งของ Desktop และ Tablet นั้นน้อยลงทุกปี
ถึงแม้ว่าคนจะค้นหาสินค้าผ่าน Mobile เป็นหลัก แต่ Conversion สุดท้าย (การขาย) ส่วนใหญ่แล้วยังคงจบลงที่ Desktop
ซึ่งก็หมายความว่า Mobile นั้นเป็นช่องทางสำหรับใช้ Awareness ส่วน Desktop นั้นถูกใช้เป็นช่องทางสำหรับ Consideration และ Decision
นอกจากนั้นแล้ว Order Size โดยเฉลี่ยของ Desktop เมื่อเทียบกับ Mobile แล้ว ยังมากกว่าอีกด้วย (2,008 บาท ต่อ 1,177 บาท) เพราะฉะนั้นสำหรับการขายของผ่าน E-Commerce นั้น การ Optimize ประสบการณ์สำหรับการช๊อปบน Desktop นั้นก็ยังคงมีความสำคัญมากๆ อยู่
สำหรับ Panel Discussion ของงานนี้นั้นก็ได้พูดถึงเรื่องหลักอย่าง E-Commerce นอกจากนั้นแล้วก็ยังได้พูดถึง E-Logistics และ E-Payment ซึ่งเป็นส่วนต่อจาก E-Commerce อีกด้วย ผมขอสรุปจากที่ผมฟังมาในภาษาของผมเองนะครับ
ข้อมูลจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกับบริษัทใหญ่ๆ (Khun Siwat, CEO – Group M Thailand) เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทุกคนควรทำคือการเก็บข้อมูลของลูกค้า
ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ต่างมีจุดดี จุดด้อยของตัวเอง สุดท้ายลูกค้าต้องการทางที่สะดวกกับพวกเขามากที่สุดเพราะฉะนั้นแบรนด์ควรจะสามารถสร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อสำหรับออนไลน์ และออฟไลน์ (Seemless Experience) ให้ได้ (Khun Siwat, CEO – Group M Thailand & Khun Parin, CEO – Nasket Retail)
จาก Insight ของ Shopee ในปีหน้าสินค้าในระบบของพวกเขาจะเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าจาก Local Seller (ยังไม่รวม Player จากประเทศอื่นๆ) นอกจากนั้นแล้วการแข่งขันทางด้าน E-Commerce ในปีหน้าจะดุเด็ดเผ็ดมันมากยิ่งขึ้นเนื่องจากว่าจะมีผู้เล่นต่างชาติกระเป๋าหนักเข้ามามากขึ้น (Khun Siwagorn, Head of Business Development – Shopee Thailand)
ธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญ และเลือกโฟกัสในตลาดแบบ Niche จะยังคงไปได้ (Khun Parin, CEO – Nasket Retail)
การทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ สิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจไปต่อได้คือการรู้ว่าจุดแข็งของเราคืออะไร และลูกค้าเป็นใคร (Khun Yutana, VP-Ecommerce Online Business – Tesco Lotus)
ถ้าอยากจะให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไปได้ดี ต้องรู้จักกับ PPC ซึ่งย่อมาจาก P: Platform (เท่าที่ผมตีความหมายมา P ตัวนี้หมายถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง), P: Partner (ไปคนเดียวไปได้ไกล ไปด้วยกันไปได้ไกลกว่า), C: Customer (รู้จักลูกค้าให้แม่นๆ และโฟกัสในสิ่งที่เชี่ยวชาญ และถูกต้อง) (Khun Parin, CEO – Nasket Retail)
Logistics แต่ละเจ้ามีจุดเด่นจุดด้อยที่ต่างกันไป คุณควรที่จะศึกษา และเลือกใช้ Logistics แต่ละเจ้าตามจุดแข็งของพวกเขาเช่นจะส่งแบบ On-demand ก็ใช้ Lalamove, จะส่งแบบ Same Day ก็ใช้ Kerry หรือจะส่งเอกสารก็ใช้ Skootar (Khun Sutthikead, Managing Director – Shippop)
การใช้เทคโนโลยีอย่าง Drone อาจจะถูกนำมาใช้งาน แต่ด้วย Condition อะไรบางอย่างเช่นการส่งของไปยังสถานที่ที่เข้าถึงได้ยากอย่างป่าเขา เป็นต้น
ในไทยมีการส่งพัสดุ 1.5 ล้านชิ้นต่อวัน ซึ่ง Khun Yoji (Managing Director – SCG Yamato Express) บอกไว้ว่าตลาดสามารถขึ้นไปถึง 4-5 ล้านชิ้นต่อวันได้ นอกจากนั้นแล้วการคิดรูปแบบการขนส่งใหม่ๆ เช่นการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิอาจจะเป็นตัวทำให้เกิดความต้องการของตลาดได้เช่นกัน
Shifu แนะนำ ส่วนตัวผม ผมค่อนข้างประทับใจ MD ของ SCG Yamato มากเพราะเขาเน้นย้ำเรื่องการรักษาคุณภาพของคน และคุณภาพของบริการ (ตามสไตล์คนญี่ปุ่น) เมื่อนำแนวคิดเหล่านี้มาผสมกับแนวคิดเรื่องการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของ Employee ตามสไตล์ SCG อย่างที่ Khun Yoji บอกไว้ว่า Safety First, Business Second ผมคิดว่าแมวดำอย่าง SCG Yamato น่าจะเป็นน้องใหม่ที่มาแรงมากๆ
เนื่องจากว่าผมอยู่ฟัง Session นี้ไม่จบ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ได้มาอาจจะมีไม่ครบนะครับ โดยที่สิ่งที่เรียนรู้จาก Section นี้ก็คือ
COD หรือ Cash On Delievery (จ่ายเงินตอนส่งของเสร็จ) นั้นควบคุมได้ยาก และมีต้นทุนที่สูง ในปัจจุบันคนเริ่มคุ้นชิ้นกับการจ่ายเงินออนไลน์มากยิ่งขึ้น ในปีหน้าจึงเป็นปีที่ดีที่จะหันมาใช้ E-Payment แทนที่จะเป็น COD
และนี่ก็คือเทรนด์ E-Commerce, E-Logistics และ E-Payment ของตลาดไทยในปี 2018 จากงาน Priceza E-Commerce Award 2017 นะครับ
พฤติกรรมของผู้บริโภค ภาพรวมของตลาด และการเติบโตของเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรจะต้องอัปเดต และเตรียมตัวให้ทัน เพราะเมื่อไหร่ที่คุณหยุดเดิน… นั่นหมายความว่าคุณกำลังเดินถอยหลัง
cr : https://www.contentshifu.com/others/ecommerce-trends-priceza/